คุณธรรม จริยธรรม และประเพณีไทย

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทความที่4

       
              งูกินหาง

     อุปกรณ์ล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็ก ๆ จะเล่นทุกโอกาสที่เด็ก ๆ
 รวมกันซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้
 เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู
 ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรง
หรือรูปร่างใหญ่ในทีมเป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู
 เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไป
ข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า
พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" 
แม่งู "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" 
แม่งู "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" 
แม่งู "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู "กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว"

                                             
     เมื่อพ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็จะพยายามป้องกัน
ไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป 
ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง
 เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป

                               หนังสืออ้างอิง
http://www.prapayneethai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87
        




    มอญซ่อนผ้า

(การเล่นในสมัยอยุธยา)
การเล่นมอญซ่อนผ้า เป็นการเล่นที่ง่าย
 ไม่มีกฎกติกามากมายนักมักเป็น
การละเล่นของหนุ่มสาว โดยมากจะซ่อน
เป็นคู่ ๆ เป็นการเจาะจงตัวผู้ซ่อน
นิยมเล่นในงานเทศกาลต่าง ๆ
โดยเฉพาะเทศกาลตรุษสงกรานต์





วัตถุประสงค์
  1. เพื่อการคบค้าสมาคมกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะเพื่อนต่างเพศ
  2. เพื่อเป็นการออกกำลังกายกลางแจ้ง
  3. เพื่อฝึกไหวพริบ
อุปกรณ์ 
ผ้าขาวม้ามัดปลายให้เป็นปมใหญ่ ๆ เรียกว่า ผ้าตีหรือลูกตูม
 จำนวนของลูกตูม จะมี 1 ใน 3 ของจำนวนผู้เล่นหรือแล้วแต่จะตกลงกัน

ผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่นิยมให้มีผู้เล่นมากกว่า 8 คน
 เป็นชายและหญิงฝ่ายละครึ่ง




หนังสืออ้างอิง
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/thai_play/05.html



    ม้าก้านกล้วย
ความฉลาดของคนไทย แม้ก้านกล้วยก็นำมาทำเป็นของเล่นเด็กได้

     คนไทยรู้จักธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี 
เมื่อตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม 
เป็นหมู่บ้านก็ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 
ใช้และรักษาธรรมชาติ 
และสภาพแวดล้อมอย่างชาญฉลาด 
เด็กไทยก็ดัดแปลงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาทำเป็น
                                                                        ของเล่นได้อย่างเหมาะสมและสนุกสนาน
     ม้าก้านกล้วย เป็นของเล่นที่เด็กผู้ชายที่อยู่ในวัยซุกซนชื่นชอบมาก เด็กไทยทั่วไปจะรู้จัก
การเล่นม้าก้านกล้วยเป็นอย่างดี
  เมื่อเลือกใบกล้วยที่มีความยาวพอเหมาะ ก็จะตัดใบกล้วยมา
 เอามีดเลาะเอาใบกล้วยออกเหลือไว้ที่ปลายใบเล็กน้อยเพื่อให้เป็นหางม้า
 ที่ก้านด้านโคนจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่าข้อมือของเด็กๆ ด้านนี้เอง 
เด็กๆจะกะความยาวประมาณหนึ่งคืบ หรือสองคืบ 
แล้วเอามีดฝานแฉลบด้านข้างของก้านตรงที่กะไว้ฝานบางๆ
ไปทางด้านโคนทั้งสองข้าง เพื่อให้เป็นหูม้า พอได้ขนาดหูยาวตาม
ต้องการแล้วก็เอามือหักก้านกล้วยตรงที่กะจะให้เป็นโคนหูม้า
 ก้านกล้วยก็จะกลายเป็นรูปม้ามีหูม้าชันขึ้นทั้งสองข้าง 
เสร็จแล้วก็เอาแขนงไม้ใผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบเศษ
 เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้ เสียบทะลุไปที่ก้าน ไม้ที่เสียบก็จะมีลักษณะเหมือน
สายบังเหียนที่ผูกปากม้ากับคอม้า เสร็จแล้วก็ทำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า
 ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็เสร็จ หาแขนงไม้ไผ่มา ๑ อัน ทำเป็นแส้ขี่ม้า 
ตอนนี้ก็พร้อมที่จะเล่นม้าก้านกล้วยได้แล้ว

หนังสืออ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น